การดูแล/สังเกต Harddisk (Internal Harddisk) ของ PC/Desktop

การป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ Harddisk ใน computer (Internal Harddisk) ของ PC/Desktop

                 สวัสดีครับ ห่างหายกันไปนานพอสมควร สำหรับ บทความเกี่ยวกับ การเก็บรักษาข้อมูล

                 วันนี้ ผมจะมาเสนอแนะ วิธีง่ายๆ ไม่กี่อย่าง ในการป้องกัน และสอด ส่องอาการ ของ Harddisk ที่อยู่ในเครื่อง computer (Internal Harddisk) ของ PC/Desktop ของเรา มาฝากกัน เพื่อให้ ห่างไกลจาก ชำรุด/สูญหาย ของ Harddisk และ การกู้ข้อมูล ครับ

                1. ไฟฟ้า / แรงดันไฟ มีผลอย่างมาก ต่อ อุปกรณ์ Harddisk - เนื่องจาก อุปกรณ์ Harddisk ที่อยู่ใน computer PC/Desktop นั้น หากไม่นับรวมถึง SSD (Solid State Drive) ซึ่งทำงานด้วยระบบ ไฟฟ้า แล้ว ตัว Harddisk มีหัวอ่าน และ จานหมุน ซึ่งอ่อนไหวต่อไฟฟ้า หรือ การกระชากของไฟฟ้า อย่างมาก

AJ-กู้ข้อมูล-Electro



                 และบ้านเราก็มีเหตุการณ์ไฟดับบ่อยเสียด้วย ผมจึงแนะนำ ให้ท่านที่ใช้งาน Desktop / PC เลือกใช้อุปกรณ์ "Power Supply แบบ Watt เต็ม" เพื่อให้ระบบ จ่าย ไฟได้นิ่ง (สอบถามทางร้านค้าได้เลยครับ) และควร ต่อพ่วง UPS (Uninterrupt Power Supply) สัก 1 ชุด เพื่อให้สามารถ ปิด computer ได้ทันท่วงที เมื่อ เกิดเหตุการณ์ ไฟดับ/ไฟตก (ซึ่งช่วยลดโอกาส ในการต้องส่ง Harddisk เข้าศูนย์กู้ข้อมูล นั่นเอง ครับ)

AJ-กู้ข้อมูล-power-supply


 สรุป

- Power Supply แบบ Watt เต็ม - เพื่อให้ระบบ จ่ายไฟได้นิ่ง

- UPS เพื่อสำรองไฟ ให้สามารถ ปิด computer ได้ทัน

AJ-กู้ข้อมูล-UPS



                 2. การกระแทก - เป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่อาจส่งผลต่อตัวอุปกรณ์ Harddisk ของท่าน โดยปกติแล้ว อุปกรณ์ Harddisk ที่อยู่ใน Desktop / PC นั้น จะมีโอกาสที่ จะเกิดการกระแทก น้อยกว่า Notebook / Netbook มาก เนื่องจากตัว Computer เอง ไม่ค่อยจะมีการเคลื่อนไหวสักเท่าไหร่

AJ-กู้ข้อมูล-กระแทก


             แต่แนะนำว่าอย่าเพิ่งวางใจนะครับ   !!!

Office ของบริษัทที่ผมดูแลอยู่นั้น มี User อยู่คนหนึ่ง ชอบคิดว่า Computer เป็นเหมือน TV เวลาเกิดอาการ Hang ก็จะทำการตบๆ เตะๆ(ในกรณีที่ Computerวางอยู่ด้านล่าง) ตัว Computer ซึ่งการ ตบ/เตะ ฯลฯ นั้น ถือเป็นการ กระแทก ซึ่งหากโชคร้าย อาจทำให้หัวอ่าน และ จานหมุน เกิดการกระแทก กัน ซึ่งนำไปสู่การเสีย/ชำรุด ของ Harddisk ในที่สุด

             ในที่นี้ การกระแทก ยังหมายรวมไปถึง การติดตั้งอย่างหละหลวม เช่น ขันน็อตที่ยึด Harddisk ไม่แน่นพอ ทำให้ในระหว่าง การใช้งาน ตัว Harddisk ซึ่งมีการสั่นหมุน ซึ่งเกิดจากการหมุนของจาน อยู่แล้ว เกิดการสั่นจนกระแทกกับ Case ของ เครื่อง Computer ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเดียวกันครับ

                  3. อายุการใช้งาน - โดยปกติแล้ว อุปกรณ์ อิเล็กโทรนิกส์ทุกชนิด ย่อมต้องมีระยะเวลา หรือ อายุการใช้งาน ซึ่งสำหรับ อุปกรณ์ Computer นั้น ส่วนใหญ่ ก็จะมีอายุประมาณ ระยะเวลาที่รับประกัน  บวกลบได้นิดหน่อย ครับ  ทางที่ดี หากข้อมูลของท่านมีความสำคัญ เมื่อหมดระยะเวลา รับประกัน (โดยมากจะอยู่ที่ 3 ปี  บางรุ่น 5 ปี) ควรจะพิจารณา หา Harddisk / External Harddisk มาสำรองข้อมูลไว้ก่อนครับ

AJ-กู้ข้อมูล-hdd-life


                  4. อย่าเมินเฉย ต่อ เสียง - สัญญาณ อันตรายที่คุณคาดไม่ถึง !!! โดยปกติแล้ว หาก Harddisk ยังอยู่ในสภาพดี ไม่มีปัญหาใดๆ  เสียงในระหว่างทำงานนั้น จะไม่มีเลย หรือ มีน้อยมาก (จริงๆต้องไม่มีเสียงเลยครับ)  ซึ่งวันใดวันหนึ่ง หาก Computer ของท่าน เกิดส่งเสียงประหลาด (แถวๆ Harddisk) (โดยทั่วไปจะเป็นเสียง แกร่กๆ / แอดๆ / คลิกๆ) แนะนำ ว่าให้ทำการ สำรองข้อมูล โดยด่วนเลยครับ

AJ-กู้ข้อมูล-hdd-click


                  5. สัญญาณอันตราย - ความเร็วในการใช้งาน (ที่เปลี่ยนไป) - อีกหนึ่ง สัญญาณอันตราย ที่บ่งบอกว่าอุปกรณ์ Harddisk ของท่าน กำลังเกิดปัญหา คือ อยู่ๆ ก็เกิดอาการ ช้า / Hang สั่งงานไม่ค่อยขยับ ขึ้นมาซะเฉยๆ ซึ่งโดยปกติแล้ว อาการเช่นนี้ หากไม่เกิดจาก Software เช่น Virus/Malware/Adware / Antivirus กำลัง scan / block / หรือตีกันกับ Software / Antivirus ตัวอื่น  ก็จะเกิดจาก Harddisk นั่นละครับ ที่กำลังจะลาโลกไปในไม่ช้า

AJ-กู้ข้อมูล-HDD-slow


                เอาละครับ ก็มีเพียงเท่านี้ สำหรับ วิธีง่ายๆ ในการ ดูแล/สังเกตการณ์ อุปกรณ์ Harddisk ใน Computer ของเรา แต่ผมแนะนำว่า ทางที่ดีที่สุด ย่อมหนีไม่พ้น หมั่น Backup ข้อมูล ลงใน Harddisk สำรอง จะดีที่สุดครับผม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น