5 สิ่งสำคัญที่ควรทราบ เมื่อรู้ตัวว่าข้อมูลสูญหาย

         สวัสดีครับ ไม่ได้เจอกันเสียนานเลย คาดว่าทุท่านยังคงสบายกันดีอยู่ใช่ไหมเอ่ย ช่วงนี้ฝนตก อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย จะทำการสิ่งใดก็ขอให้พึงระวังสุขภาพเอาไว้ด้วยนะครับ อโรคยา ปรมา ลาภา นะครับ

        สำหรับวันนี้ หลายๆท่านที่เมื่อรู้ตัวว่า ได้เผลอทำข้อมูลอันสำคัญยิ่งสูญหาย หรือ เผลอทำให้อุปกรณ์เก็บข้อมูล ไม่สามารถใช้งานได้ ทั้งอาจจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม เช่น เผลอทำ external hdd หล่น / กระแทก , ไฟฟ้ากับ / กระชาก กะทันหัน หรือแม้แต่เผลอลบข้อมูลไปโดยมิได้ตั้งใจก็ตาม มาวันนี้ กระผมจะมาขอเสนอแนะ วิธีการ ปฐมพยาบาล เบื้องต้น เพื่อให้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลของท่าน เตรียมพร้อม เพื่อสำหรับนำส่ง ศูนย์กู้ข้อมูล ได้ทันท่วงที และ ไม่เป็นอันตรายต่อข้อมูลภายใน อันจะเกิดผลสูงสุดเมื่อดำเนินการ กู้ข้อมูล อีกด้วยครับ

1. ในกรณีที่ท่านทำอุปกรณ์ เก็บข้อมูล หล่น หรือ กระแทก ก่อนอื่นเลย เมื่อเริ่มทราบแล้วว่า ไม่สามารถเปิดใช้งาน ข้อมูลภายในได้ แนะนำว่า ให้ทำการ safety remove hardware แล้วถอดอุปกรณ์ต่อพ่วง อาทิ เช่น ปลั๊กไฟ / สายสัญญาณ หรืออื่นๆ ที่ต่อระหว่างอุปกรณ์ นั้นๆ เก็บเอาไว้ และ หากเป็นไปได้ อย่านำอุปกรณ์ดังกล่าว ไปพยายามเปิด หรือ ทดลองกู้ข้อมูลด้วยตนเอง เด็ดขาด เพราะจากประสบการณ์ ลูกค้าหลายท่าน พยายามนำไปต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือ พยายามแกะอุปกรณ์ด้วยตนเอง ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์  ทำให้อุปกรณ์เกิดการเสียหายมากกว่าเดิม และไม่สามารถกู้คืนข้อมูลกลับมาได้ถาวร . หลังจากนั้น ให้เก็บอุปกรณ์ใส่ซองกันกระแทกหรือบับเบิ้ลพลาสติกห่อของ แล้วนำส่ง ศูนย์กู้ข้อมูล โดยเร็วครับ



2. ในกรณีที่เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ไฟกระชาก หรือ เหตุอันใดที่เกิดจากระบบไฟฟ้า ซึ่งส่งผลกระทบเช่นเดียวกันกับ กรณีแรก คือ เปิดไม่ติด หรือ มองเห็นไดร์ฟ แต่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลภายในได้ แนะนำให้ดำเนินการ เช่นเดียวกับ กรณีแรก นั่นคือเก็บรักษาอุปกรณ์อย่างดี แล้วนำส่งศูนย์ ครับ



3. ในกรณีที่ ยังสามารถเข้าถึงเนื้อจานภายในได้ แต่มองไม่เห็นข้อมูลภายใน อาจจะเกิดจากปัญหาทั้งทางด้านซอฟต์แวร์ หรือ ฮาร์ดแวร์ก็ตาม แนะนำให้ "อย่าพยายามใส่ข้อมูลเพิ่มเติม ลงไปโดยเด็ดขาด" หรือ แม้แต่ต่อพวงอุปกรณ์ดังกล่าว เข้ากับคอมพิวเตอร์ ก็ตาม เพราะจะทำให้เกิดการเขียนทับข้อมูล(ของท่าน)โดยไม่รู้ตัว บางท่านอาจจะไม่ทราบว่า ระบบปฏิบัติการ windows ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มีการอ่านและเขียนทับข้อมูลที่อยู่ในไดร์ฟต่างๆตลอดเวลา เช่น system volume information หรือ recycle folder ที่เราเคยเห็นนั่นเอง หรือแม้แต่ โปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่อยู่ในคอมพิวเตอร์เรา ก็ยังคงพยายาม อ่านหรือเขียน ข้อมูลในไดร์ฟข้อมูลของเราอยู่ตลอดเวลา ครับ แนะนำให้ถอดอุปกรณ์ และส่งศูนย์กู้ข้อมูล เช่นเดียวกัน



4. ในกรณีที่เผลอลบไฟลหรือโฟลเดอร์ ไปจากหน้าต่าง desktop หรือ my document หรือโฟลเดอร์ต่างๆที่อยู่ในไดร์ฟ C:\ บางท่านพยายามดาวน์โหลดโปรแกรมมาดำเนินการกู้ข้อมูลด้วยตนเอง ท่านทราบหรือไม่ว่า ระหว่างที่ท่านกำลังดาวน์โหลดโปรแกรมต่างๆอยู่นั้น ระบบปฏิบัติการ หรือ windows จะทำการจองเนื้อที่ในฮาร์ดดิส เพื่อเขียนข้อมูลโปรแกรมที่ท่านดาวน์โหลดมาเพื่อจะใช้กู้ข้อมูล และมีโอกาสที่ข้อมูลจะโดนเขียนทับที่ address เดิมที่เคยเก็บข้อมูล(ที่ถูกลบไป) ของท่านอยู่ นั่นกลับกลายเป็นว่า แทนที่โปรแกรมดังกล่าวจะมาช่วย ดันเป็นตัวที่มาทำให้ยิ่งไม่สามารถได้ข้อมูลกลับคืนมาอีก



*** เกร็ดความรู้ ข้อมูลที่ถูกเก็บในคอมพิวเตอร์นั้น เก็บเป็นเลเยอร์ และ เลเยอร์ ล่างสุดคือ 1011010011 หากข้อมูลในบิทใดโดนเปลี่ยนแปลง จาก 0เป็น1 หรือ จาก 1เป็น0 แล้ว ต่อให้เทวดา ก็ไม่สามารถกู้ข้อมูลในส่วนนั้นๆกลับมาได้ครับ****

5. ในะระหว่างที่รอส่งซ่อม หรือ ส่งกู้ข้อมูลอยู่นั้น เราควรเก็บ อุปกรณ์ เก็บข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น internal hdd , external hdd หรือแม้แต่ flashdrive อยู่ในที่ที่ไม่โดนแสงแดดโดยตรง , ห่างไกลความชื้น , และห่างไกลจากแม่เหล็ก และ ไฟฟ้าแรงดันสูง เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลของท่านเอง ครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น